รองศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม แก้วอิ่ม


  • จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 6 เมษายน 2500

  • จบการศึกษาระดับ Ph.D. จาก Melbourne University ประเทศ Australia 1969
  • ทำหน้าที่ House Officer และ Senior House Officer ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

  • ย้ายสังกัดมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จนถึง เมษายน 2522 สอนกายวิภาคศาสตร์ทุกสาขาวิชาให้กับนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาสัตวแพทย์ นักศึกษาพยาบาล กายภาพบำบัด ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ให้คำแนะนำและควบคุมการวิจัยนักศึกษาปริญญาโทสาขากายวิภาคศาสตร์

  • ย้ายมาทำงานที่คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ 2522 จนเกษียณอายุราชการ

  • รับหน้าที่จัดทำ / ดูแลพิพิธภัณฑ์
  • ร่างกายมนุษย์ชำแหละแสดงรายละเอียดระบบต่างๆ

  • ออกแบบและจัดทำหุ่นจำลอง แสดงรายละเอียดของระบบประสาท, ระบบไหลเวียนเลือด ฯลฯ

  • จัดทำ topographic sections ของมนุษย์เพศชาย 1 ชุด ตั้งแต่ศรีษะถึงปลายเท้า

  • จัดทำ MRI เทียบส่วนกับ Topographic Sections ไว้ทั้งตัว

  • รวบรวมชิ้นส่วนย่อยแต่เป็นประโยชน์กับการเรียนกายวิภาคไว้เป็นบางส่วน

  • ออกแบบและทำกล่องไฟแสดงภาพดูราเคลียร์ งานด้าน gross Anatomy, Microscopic Anatomy ของ รศ.พญ.มัณฑนา แก้วอิ่ม

  • จัดการเรียนการสอนกลุ่มย่อยให้นักศึกษาแพทย์ ฯลฯ เมื่อมีปัญหาทางกายวิภาคมาปรึกษา

  • ร่วมงานกับภาควิชาพยาธิวิทยาจัดทำ Duraclear Pathology ไว้ในพิพิธภัณฑ์

เดิมเมื่อเข้ามารับหน้าที่จัดทำพิพิธภัณฑ์ เป็นช่วงที่เกษียณอายุราชการแล้ว (2537) งานกายวิภาคศาสตร์ไม่ได้สังกัดใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงค่อนข้างมีปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีทุกอย่าง นอกจากการสนับสนุน จากทางคณะแพทยศาสตร์เท่านั้น ต้องอาศัยภาควิชาพยาธิเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ทำงานชั่วคราว เป็นที่ทำงานไปก่อนจนกว่า ตึกแพทยศาสตรศึกษาจะเสร็จ เมื่อนำอาจารย์ใหญ่มาชำแหละก็ทำความรบกวนให้ทุกคนในตึกพยาธิ นอกจากกลิ่น ภาพ ที่ไม่น่าดู และเสียงเลื่อยแผ่นพลาสติกทำกล่องบรรจุก็ค่อนข้างดังมากแล้ว ยังไปกีดขวางการขยายงานของภาควิชาพยาธิอีกเป็นเวลานาน


อย่างไรก็ตาม การรวบรวมสะสมและสร้างเสริม Specimen ต่างๆ ดำเนินมาจนตึกถาวรเสร็จจึงได้ย้ายมาจัดแสดงที่ ชั้น 4 จนปัจจุบัน ขณะนี้งานจัดหาต่างๆก็บรรลุจุดประสงค์แล้วปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาให้สิ่งต่างๆให้คงทนและเป็นประโยชน์ได้นานที่สุด เพราะสิ่งที่ทำไว้เป็นสิ่งที่มีเพียงชิ้นเดียวหากชำรุดเสียหายคงไม่มีตั้งแสดงอีกยังหาผู้มารับผิดชอบงานต่อไม่ได้หากแก้ปัญหาดังกล่าวได้ พิพิธภัณฑ์นี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนต่อไปได้อีกหลายรุ่น